วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


สอบกลางภาควันที่  22-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  7 


วันอังคาร ที่  21  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2560

ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา 






                 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา อาจารย์ให้นักศึกษาไปศึกษาดูงานในเรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม โดยอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษาพฤติกรรมของน้องที่มีความต้องการพิเศษที่สามารถเรียนรวมกับเพื่อนๆได้ตามปกติ หัวข้อที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษา คือ
1.อายุของน้องที่ได้ศึกษา
2.ประเภทอาการของน้อง
3.พฤติกรรมที่เห็น
4.การสัมภาษณ์เกี่ยวพฤติกรรมของน้องกับพี่ปี 5 และคุณครูประจำชั้น
5.เวลาน้องเล่นกับเพื่อนน้องเป็นอย่างไร
                 ทุกๆเช้าน้องๆจะมารวมตัวกันเข้าแถวเคารพธงชาติ และทำกิจกรรมออกกำลังกายโดยการเต้นแอร์โรบิคร่วมกันเป็นชั้น และจะสับเปลี่ยนกันออกมาทำท่าของตัวเองคนละ 1 ท่าโดยที่ไม่ซ้ำกัน จนครบทุกห้อง บรรยากาศในตอนเช้าสนุกสนานกันทุกคน เด็กที่มีความต้องการพิเศษของชั้นอนุบาล 17 คน รวมทั้งดรงเรียนของชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งหมด 60-70 คน
การฟังคำบรรยายก่อนที่จะเข้าไปสังเกตุพฤติกรรมของน้องในชั้นเรียน



             ต่อมาคุณครูได้เชิญให้นักศึกษาและครูที่มาศึกษาดูงานจากจังหวัดเชียงรายเพื่อเข้าห้องประชุมเพื่อที่จะแนะนำโรงเรียนและการจัดการสอนภายในโรงเรียนให้นักศึกษาและคณะครูจากเชียงรายฟังเพื่อที่จะได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนเกษมพิทยามากขึ้น 
               ห้องเรียนที่ได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาดูพฤติกรรมคือ ห้องอนุบาล 3/2
น้องเน็ตและน้องณิชา

ครูที่ปรึกษา
คุณครูกัลยา  เทพวงศ์ คุณครูจก
นักศึกษาฝึกสอน
นายธนรัตน์  วุฒิชาติ คุณครูบอส
เด็กหญิงณิชารีย์  คอลล์ (น้องณิชา)



 



ชื่อ เด็กหญิงณิชารีย์  คอลล์
ชื่อเล่น น้องณิชา
อายุ 6 ขวบครึ่ง
ประเภทอาการ ออทิศติกแฝง
พฤติกรรมที่ได้สังเกตุ
            พฤติกรรมของน้องณิชา น้องมีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ไม่ต่อยได้ ถ้าไม่ได้ดั้งใจน้องก็จะร้องไห้ น้องณิชาชอบเล่นกับเพื่อนๆผู้ชายมากกว่าเพื่อนๆผู้หญิง น้องมีลักษณะเด่นในเรื่องภาษาอังกฤษ เมื่อที่น้องได้ทำกิจกรรมภาษาอังกฤษน้องจะตั้งใจและสนใจเป็นพิเศษ เวลาครูพูดหรือถามเป็นภาษาอังกฤษน้องณิชาสามารถตอบได้ทุกอย่าง น้องชอบร้องเพลง ช่วงเวลาที่ครูเล่านิทานให้เด็กๆฟัง น้องณิชาจะตั้งใจฟัง และทำท่าตื่นเต้นกับตัวละครในนิทาน น้องสามารถบอกตัวละครและเนื้อหานิทานเป็นภาษาอังกฤษได้ น้องสนุกสนานกับการเรียนภาษาอังกฤษ น้องร้องเพลงภาษาอังกฤษพร้อมทำกิจกรรมเคลื่อนไหวไปพร้อมๆกับคุณครู น้องเคลื่อนไหวอย่างสนุกสนาน น้องณิชาไม่ค่อยเล่นหรือพูดคุยกับเพื่อนๆ ช่วงที่นั่งฟังนิทานอยู่เท้าของเพื่อนข้างๆมาโดนแขนน้อง น้องร้องโอ๊ยๆ และแสดงสีหน้าโกรธไม่พอใจได้อย่างชัดเจนแต่น้องก็กลับมาสนใจครูเล่านิทานต่อ น้องชอบนั่งดึงแก้มของตัวเองตลอด 


เด็กชายรัฐนันท์  นิธิวุฒิวรรักษ์  (น้องเน็ต)






ชื่อ เด็กชายรัฐนันท์  นิธิวุฒิวรรักษ์
ชื่อเล่น น้องเน็ต
อายุ 7 ปี
ประเภทอาการ ดาวน์ซินโดรม
พฤติกรรมที่ได้สังเกตุ
           พฤติกรรมของน้องเน็ต น้องเน็ตชอบถ่ายรูปมาก น้องเซนซิทีฟเรื่องอารมณ์มาก น้องเป็นคนยิ้มเก่งอารมณ์ดี น้องเน็ตมีปัญหาในด้านสายตา ช่วงเวลาที่น้องเล่นในสนามน้องโยนลูกบอลให้เพื่อนๆแล้วพูด ภาษาของน้องโดยที่เราอาจจะไมรู้ว่าน้องพูดอะไร แต่เหมือนน้องอย่างเล่นกับเพื่อนๆน้องเหมือนจะอยากพูดอย่างเล่นกับเพื่อน เวลาเล่นน้องจะดึกเพื่อนหรือตีเพื่อนเหมือนอยากเล่นกับเพื่อนๆแต่น้องไม่รู้จะพูดบอกยังไง น้องจะมีอารมณ์อ่อนไหวง่ายถ้ามีใครไปพูดว่าไม่รักน้องแล้ว น้องจะร้องไห้ ส่วนมากน้องเน็ตจะไม่ค่อยขอความช่วยเหลือจากเพื่อนน้องจะขอความช่วยเหลือจากคุณครูมากกว่า น้องเน็ตชอบทำกิจกรรมเคลื่อนไหวมาก น้องจะเคลื่อนไหวได้ดีและตรงตามจังหวะ น้องเน็ตชอบดนตรีและนิทานมากๆ น้องเน็ตชอบหอมแก้มเพื่อนๆ น้องเน็ตไม่เก่งด้านภาษา เราควรช่วยเหลือน้องเน็ตเรื่องภาษา เพื่อที่น้องจะได้พูดสื่อสารได้กับคนอื่นได้






              หลังจากที่ได้ไปสังเกตุดูพฤติกรรมของๆเสร็จแล้วคุณครูก็เชิญนักศึกษาและครูที่มาดูงานจากเชียงรายเข้าห้องประชุมเพื่อที่จะสรุปกิจกรรมและรับประทานอาหารก่อนกลับ ตัวแทนนักศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มากล่าวขอบพระคุณทางโรงเรียนเกษมพิทยาและคณะคุณครูที่คอยดูแลและคอยตอนรับพวกเราเป็นอย่างดี นักศึกปฐมวัยทุกคนจึงกล่าวขอบคุณพร้อมมอบของที่ระลึกให้กับทางโรงเรียนเกษมพิทยา นักศึกษาปฐมวัยจึงอยากขอบคุณทางคณะคุณครูและทางโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้มาศึกษาดูงานเพื่อได้ศึกษาการเรียนการสอนของจริง เราจะนำความรู้ในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมที่ได้รับมาทั้งหมดในวันนี้นำเอาไปเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด

ความรู้ที่ได้รับและการนำเอาไปใช้

           ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมมากขึ้นเพราะได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสถานณ์การจริงจึงทำให้ได้ใกล้ชิดและสังเกตุเห็นพฤติกรรมของน้องๆได้ชัดเจน จึงทำให้เราได้เรียนรูู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้นว่าน้องก็สามารถเรียนรวมกับเพื่อนๆที่ปกติได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาไปปรับใช้ได้จริง

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

         แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจขณะที่อาจารย์กำลังพูด ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนๆแต่งกานสุภาพเรียบร้อย ส่วนมากเพื่อนๆจะมาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมต่างๆกันอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์

         อาจารย์คอยดูและคอยช่วยเหลือนักศึกษาทุกคน อาจารย์พูดจาไพเราะและเป็นการเองมาก มาตรงต่อเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 


วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดสัมมานา



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่   5 


วันพุธ ที่  8  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560


เนื้อหาการเรียนการสอน

              วันนี้ใครมาก่อนก็ไปเอาตัวปั๊มมาปั๊มเพื่อเป็นการเช็กชื่อว่ามาเรียนเหมือนทุกๆครั้ง ระหว่างรอเพื่อนๆที่ยังไม่มา อาจารย์ก็พูดคุยกับนักศึกษาเรื่องที่ไปสัมมานาดูงานที่โคราชว่าอาจารย์ได้ไปดูงานเกี่ยวกับอะไรบ้างเพื่อรอเพื่อนๆมาให้ครบก่อน เพื่อที่จะเริ่้มเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอน


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)

- เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
- ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ LD
- ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
- กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน  (Reading Disorder)
- หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
- อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
- ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ตัวอย่างการอ่าน
เด็กปกติ                         เด็ก LD เป็นแค่บางคนไม่ได้เป็นทุกคน
หาว *************************** หาม/หา
ง่วง *************************** ม่วม/ม่ง/ง่ง
เลย*************************** เล
อาหาร *********************** อาหา
เก้าอี้ *************************  อี้
อรัญ ************************* อะรัย

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
- อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
- อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
- เดาคำเวลาอ่าน
- อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
- อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
- ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
- ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
- เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

อาจารย์ขออาสาสมัครออกมาอ่านคำที่อาจารย์เตรียมมาให้เพื่อนๆฟัง








2. ด้านการเขียน  (Writing Disorder)
- เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
- เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
- เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
- ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
- เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
- เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-นภ-ถด-คพ-ผ, b-d, p-q, 6-9
- เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
- เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
- เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
- จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
- สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
- เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
- เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
- ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

ตัวอย่างการเขียน
เด็ก LD เป็นแค่บางคนไม่ได้เป็นทุกคน          เด็กปกติ
ปาลแผล ****************************************** บาดแผล
รัมระบาล ***************************************** รัฐบาล
ผีเสื้อมดุร ***************************************** ผีเสื้อสมุทร
ไกรรง ********************************************* กรรไกร
เกสรกะ ******************************************* เกษตร
ดักทุก ********************************************* บรรทุก
เสรฐ ********************************************** สำเร็จ
ไอระ ********************************************** อะไร
เชิย *********************************************** เชย
โบณาร ******************************************* โบราณ
นาสือ ******************************************** หนังสือ
ละเมย ******************************************* ละเมอ

3. ด้านการคิดคำนวณ  (Mathematic Disorder)
- ตัวเลขผิดลำดับ
- ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
- ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
- แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ตัวอย่างการคิดเลขของเด็กปกติและเด็ก LD 16+8 = 14

เด็กปกติ                 เด็ก LD
1                             1
16                           16
    +                             +
  8                             8
14                          114

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD

*    แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
*    มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
*    เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
*    งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
*     การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
*     สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
*    เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
*    ทำงานช้า
*    การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
*   ฟังคำสั่งสับสน
*  คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
*   ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
*  ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
*   ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
*  ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

ออทิสติก (Autistic)



- หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
- เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
- ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
- เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
- ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

* ทักษะภาษา
* ทักษะทางสังคม
* ทักษะการเคลื่อนไหว
* ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่

ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตนเอง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
- ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

ตัวอย่าง
เด็กปกติ                                      เด็กออทิศติก
ดูหน้าแม่ ******************************** ไม่มองตา
หันไปตามเสียง ************************* เหมือนหูหนวก
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม ******************** เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้ ********* ไม่สนใจคนรอบข้าง
จำหน้าแม่ได้ *************************** จำคนไม่ได้
เปลี่ยนของเล่น ************************* นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย ********** มีพฤติกรรมแปลชก
สำรวจและเล่นตุ๊กตา ******************* ดมหรือเลียตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ ******** ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนอื่นโดยไม่มีสาเหตุ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
- ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
- ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
- ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
- ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
- มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
- ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
- พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
- ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
- มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
- มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
- มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
- สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
- นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
- นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
- วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
- ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
- ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
- การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
ออทิสติกเทียม
1.       ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
2.       ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
3.       ดูการ์ตูนในทีวี
Autistic Savant
- กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
- กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)

ตัวอย่าง

1.Iris Grace ชอบอยู่คนเดียวไม่เอาใคร ชอบการวาดภาพมาก เวลาน้องวาดภาพจะมีแมวคอยอยู่เป็นเพื่อนตลอด



2.Daniel Tammet  เก่งในด้านการคำนวณเลขและการจำโดยการใช้สี






3.Kim Peek เก่งด้านการจำการอ่าน จำอะไรได้ทุกอย่างสามารถบอกได้ว่าประโยคไหนอยู่หน้าไหนได้หมด อ่านหนังสือพร้อมกันได้ 2 หน้าพร้อมกัน



4.Tony Deblois เก่งด้านดนตรีเล่นได้หมดโดยไม่ต้องฝึก



5.Alonzo Clemons เก่งในด้านแกะสลักเวลาเห็นอะไรที่เป็นภาพจริงสามารถแกะได้หมด



6.Stephen Wiltshire สามารถวาดเมืองได้หมดทุกอย่าง โดยแค่นั่งเครื่องบินชมรอบเมืองนั้นๆแค่ครั้งเดียวก็สามารถวาดได้ทั้งเมือง



การนำความรู้เอาไปประยุกต็ใช้

         ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาเอามาปรับใช้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้จริง และได้ความรู้ในเรื่องต่่างๆของเด็กพิเศามากขึ้น


ประเมินผล

ประเมินตนเอง
          แต่งกายมาเรียนสุภาพเรียบร้อย มาตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน
          เพื่อนๆแต่งกายมาเรียนสุภาพเรียบร้อย ส่วนมากจะมาตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนกันทึุกคน ให้ความร่วมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์ 
           อาจารย์แต่งกายมาสอนสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะและเป็นกันเองมาก มาตรงต่อเวลา และทบทวนสอนสิ่งที่นักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจสอนให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น